บทสวดมนต์: ชยปริตร

บทสวดมนต์: ชัยมงคลคาถา (ชยปริตร)

มะหาการุณิโก นาโถ          หิตายะ สัพพะปาณินัง

ปูเรต๎วา ปาระมี สัพพา                ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                 โหตุ เต ชะยะมังคะลัง

ชะยันโต โพธิยา มูเล          สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน

เอวัง ต๎วัง วิชะโย โหหิ                 ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล

อะปะราชิตะปัลลังเก                   สีเส ปะทะวิโปกขะเล

อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง              อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง                  สุปปะภาตัง สุหุฏฐิตัง

สุขะโณ สุมุตโต จะ                     สุยิฏฐัง พ๎รัหมะจาริสุ

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง                วาจากัมมัง ปะทักขิณัง

ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง                ปะณิธิ เต ปะทักขิณา

ปะทักขิณานิ กัตวานะ                 ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ

คำแปล

ขอท่านจงมีชัยชนะในมงคลพิธี

เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมารที่โคนโพธิพฤกษ์

ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก

ทรงปราโมทย์อยู่เหนืออปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี

ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ –ฉะนั้นเทอญ.

 

เวลาที่ประพฤติชอบ ชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี

สว่างดี รุ่งดี แลขณะดี ครู่ดี

บูชาแล้วดีในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย

 

กายกรรมเป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา

วจีกรรมเป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา

มโนกรรมเป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา

ความปรารถนาของท่านเป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา

 

การประทักษิณ คือ การเดินเวียนขวารอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบุคคลที่ตนเคารพ ซึ่งเป็นการให้เกียรติ การเคารพสูงสุด อันเป็นมงคลสูงสุด การกล่าวว่า  กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ความปรารถนาเป็นประทักษิณเบื้องขวาหรือเวียนขวานั้น จึงหมายถึงการทำการพูดการคิดที่เป็นมงคล  และผลที่ได้รับก็หมายถึงผลที่เป็นมงคลอันสูงสุด

 

จึงกล่าวได้ว่า วันใดที่ตั้งใจทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ เมื่อนั้นแหละถือเป็นฤกษ์ดี มงคลดี ยามดี ขณะดี ครู่ดี ทานที่ถวายแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในวันนั้น จึงเป็นทานดี เป็นสิ่งที่ดี ดั้งนั้น เมื่อทำความดีแล้ว ย่อมได้รับผลดี