Category: waiphrathamboon

  • วัดนันตาราม ต. หย่วน อ.อเชียงคำ จ. พะเยา

    วัดนันตาราม ต. หย่วน อ.อเชียงคำ จ. พะเยา

             วัดนันตาราม ตั้งอยู่ที่ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน งดงามไปด้วยงานพุทธศิลป์แบบไทใหญ่-พม่า โดดเด่นไปด้วยวิหารไม้สักทั้งหลังที่มีผลงานการฉลุไม้ตกแต่งลวดลายอย่างงดงาม วัดนันตาราม ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เล่ากันว่าแต่เดิมที่ตั้งวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างมาก่อน โดยระยะแรกสร้างเป็นเพียงวิหารไม้มุงด้วยหญ้าคา คนจึงเรียกว่าจองคา โดยคำว่าจองเป็นภาษาไทใหญ่หมายถึง วัด ส่วนคา หมายถึงมุงด้วยหญ้าคา บ้างก็เรียกจองม่าน หรือ วัดพม่า จากนั้นใน พ.ศ.2467 พ่อเฒ่าตะก่าจองนันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชาวปะโอ (ตองสู่) ผู้รับสัมปทานทำไม้ให้กับบริษัทค้าไม้ต่างชาติ เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบูรณะปรับปรุงเสนาสนะวัดจองคาที่ทรุดโทรมให้มีความมั่นคงแข็งแรงงดงามสมเป็นพุทธสถาน พ่อตะก่าจองนันตา (อู๋) รับเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังปัจจุบัน โดยว่าจ้างช่างชาวพม่าจากจังหวัดลำปางมาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้สักทั้งหลัง รูปทรงสถาปัตยกรรมแบบพม่า หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้นลดหลั่นกันสวยงาม มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตร ใช้เวลาร่วม 10 ปีจึงสำเร็จสมบูรณ์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและเป็นอนุสรณ์ผู้สร้าง จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจากจองม่าน เป็น วัดนันตาราม เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน วิหารไม้สักแห่งวัดนันตาราม ภายในวิหารยกเป็น 3…

  • วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไทย ประเทศไทย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดโพธิ์ เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่รวบรวมความรู้และภูมิปัญญาไทย สะท้อนผ่านศิลปกรรมโบราณ จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม และคัมภีร์โบราณ ที่ล้วนทรงคุณค่า ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้มาสัมผัสประสบการณ์อันล้ำค่า สถานที่น่าสนใจภายในวัดโพธิ์ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ปางไสยาสน์ขนาดยาว 46 เมตร สูง 15 เมตร ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร เต็มไปด้วยลวดลายอันวิจิตรบรรจง พระระเบียงคด เดินชมพระระเบียงคด ชมประติมากรรมพระพุทธรูปปางต่างๆ กว่า 150 องค์ แต่ละองค์ล้วนมีความงดงามและเอกลักษณ์เฉพาะตัว สะท้อนให้เห็นถึงฝีมือช่างไทยโบราณ จารึกวัดโพธิ์ เรียนรู้ภูมิปัญญาไทยโบราณผ่านจารึกวัดโพธิ์ จารึกบนแผ่นหินอ่อนที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ การแพทย์ โหราศาสตร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล…

  • วัดขุนอินทประมูล ต.บางพลับ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

    วัดขุนอินทประมูล ต.บางพลับ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

              วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ที่ ต. บางพลับ อ. โพธิ์ทอง จ. อ่างทอง มีประวัติเล่าขานว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนต้น ในรัชสมัยของพระยาเลอไท และถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ และมีตำนานว่าในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นายอากรตำแหน่งขุนอินทประมูลได้ใช้ทรัพย์สินส่วนตัวบูรณะซ่อมแซมแต่มีข้อครหาว่ายักยอกเงินภาษีของรัฐมาสร้าง จึงถูกสอบสวนและลงโทษจนเสียชีวิต โดยร่างของขุนอินทประมูลถูกฝังไว้ในเขตพระวิหาร วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดพระนอนขุนอินทประมูล (คาดว่าเป็นตำนานจากการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ในบริเวณด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์เมื่อปี พ.ศ. 2541) ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า ทรงแวะที่วัดแห่งนี้เพื่อนมัสการพระพุทธไสยาสน์ถึง 2 ครั้ง และโปรดฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมา ภายในวัดขุนอินทประมูล มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ พระพุทธไสยยาสน์           พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า พระนอนองค์ใหญ่, พระศรีเมืองทอง…

  • วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อ.เมือง จ.สกลนคร

    วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อ.เมือง จ.สกลนคร

              วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ ถ.เจริญเมือง อ.เมือง จ.สกลนคร สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัด แต่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคติการบูชารอยพระพุทธบาทผ่านตำนานอุรังคธาตุ ที่กล่าวถึงกำเนิดพระธาตุเชิงชุมไว้ว่า ในสมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธองค์พร้อมพระอรหันตสาวก ได้เสด็จโปรดสัตว์และประทับรอยพระพุทธบาทตามสถานที่ต่าง ๆ ในแถบลุ่มน้ำโขง เมื่อเสด็จมายังเมืองหนองหารหลวงซึ่งสันนิษฐานว่าคือ เมืองสกลนคร ปัจจุบัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาททับซ้อนลงบนรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าในอดีตทั้ง 3 พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า และพระกัสสปพุทธเจ้า ที่ได้เคยเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้แล้วในบริเวณที่ เรียกว่า ภูน้ำลอด ซึ่งสันนิษฐานว่าคือบริเวณที่ตั้งของพระธาตุเชิงชุมในปัจจุบัน พระยาสุวรรณกิงคารผู้ครองเมืองหนองหารหลวงจึงโปรดให้ก่ออบมุง (อุโมงค์) ครอบรอยพระบาทดังกล่าวไว้ จึงเป็นที่มาของนาม พระธาตุเชิงชุม ซึ่ง เชิงชุม หมายถึง การมีรอยเท้ามาชุมนุมกันอยู่ พระธาตุเชิงชุมแบบศิลปะล้านช้าง สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ พระธาตุเชิงชุม           พระธาตุเชิงชุม เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน…

  • วัดนางสาว ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

    วัดนางสาว ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

              วัดนางสาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ต. ท่าไม้ อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่มีหลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยสันนิษฐานจากลักษณะของพระอุโบสถที่มีฐานแอ่นโค้งแบบท้องเรือสำเภาได้ที่นิยมสร้างกันในสมัยนั้น           มีเรื่องเล่ากันมาว่า ในสมัยนั้นที่จังหวัดสมุทรสาครยังเป็นเมืองสาครบุรี เมืองชายฝั่งทะเลตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา มีชาวไทยกลุ่มหนึ่งอพยพหนีภัยสงครามมาถึงวัดร้างอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ในบริเวณนั้นมีโบสถ์เก่าอยู่หลังหนึ่งเป็นโบสถ์ที่ทึบมากไม่มีหน้าต่าง จึงได้พากันวิ่งเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ ซึ่งในกลุ่มนั้นมีหญิงสาวสองคนเป็นพี่น้องกัน ที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่าหากรอดพ้นจากภัยอันตรายครั้งนี้จะบูรณะซ่อมแซมโบสถ์ และสร้างวัดให้ใหม่           หลังจากปลอดภัยจากอันตราย สงครามสงบลง หญิงสาวสองพี่น้องทำมาหากินจนเริ่มมีฐานะจึงคิดจะบูรณะโบสถ์และวัดตามคำอธิษฐาน แต่คนพี่เห็นว่าโบสถ์นั้นเก่ามากแล้วยากแก่การบูรณะซ่อมแซม เมื่อต่อมาได้แต่งงานและย้ายไปอยู่กับสามี จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดกกเตย แต่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า วัดพี่สาว (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ส่วนหญิงคนน้องที่ครองตัวเป็นโสด และมุ่งมั่นบูรณะโบสถ์พร้อมสร้างวัดใหม่ดังคำที่ตั้งจิตอธิฐานไว้จนสำเร็จ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า วัดพรหมจารี…

  • วัดพระบรมธาตุสวี ต.สวี อ.สวี จ.ชุมพร – พระบรมธาตุสวี

    วัดพระบรมธาตุสวี ต.สวี อ.สวี จ.ชุมพร – พระบรมธาตุสวี

              วัดพระบรมธาตุสวี ตั้งอยู่ที่ ต.สวี อ.สวี จ.ชุมพร ใกล้กับคลองสวี บนพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา มีตำนานถึงประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นคู่กับพระบรมธาตุสวี ภายในวัดมีบรรยากาศที่ร่มรื่น เงียบสงบ มีโบราณสถาน และสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ เช่น พระบรมธาตุสวี ศาลพระเสื้อเมือง และพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุสวี พระบรมธาตุสวี           พระบรมธาตุสวี มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา จนเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยอดพระธาตุได้หักพังลง จึงมีการบูรณะครั้งใหญ่ ปัจจุบันองค์เจดีย์มีความสูง 14.25 เมตร ประดับกระเบื้องโมเสกสีทอง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 8.50 เมตร ด้านในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีเจดีย์องค์เล็กจำลองแบบจากเจดีย์องค์ใหญ่ตั้งอยู่รอบฐานทั้ง 4…

  • วัดสันป่ายางหลวง ต.ในเมือง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน – วิหารพระเขียวโขง

    วัดสันป่ายางหลวง ต.ในเมือง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน – วิหารพระเขียวโขง

              วันสันป่ายางหลวง ตั้งอยู่ในตัวเมืองตรงข้ามกับเทศบาลเมืองลำพูน เดิมเป็นวัดในศาสนาพรหมณ์ ภายหลังจากมีพระกัณฑ์พระโสภโณ พระอุตตโม พระเถระจากพม่าได้มาจำพรรษาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ชาวบ้านเกิดความศรัทธาจึงเปลี่ยนมาเป็นวัดพุทธศาสนาแห่งแรกของแคว้นล้านนา ในปี พ.ศ. 1074 โดยมีชื่อเดิมว่า วัดขอมลำโพง            ต่อมาพระพุทธศาสนาได้เสื่อมลงตามกาลเวลา จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 1202 ในรัชสมัยของพระนางจามเทวี  ปฐมกษัตริย์แห่งเมืองลำพูน จึงได้มีการฟื้นฟูบูรณะวัดสันป่ายางหลวง ด้วยการสร้างถาวรวัตถุและกำหนดเขตธรณีสงฆ์ขึ้นใหม่ พร้อมกับได้รับชื่อใหม่ว่า “วัดสันป่ายางหลวง” เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพที่ตั้ง เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณดังกล่าวมีต้นยางขึ้นอย่างหนาทึบ           ภายในวัดสันป่ายาง มีสถานที่สำคัญและสวยงามหลาย เช่น  วิหารพระเขียวโขง พระธาตุวัดสันป่ายาง วิหารพระพุทธบาทจำลอง เป็นต้น พระวิหารพระเขียวโขง      …

  • วัดชลอ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    วัดชลอ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    วัดชลอ เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2275 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยตอนเหนือ หรือ เดิมเรียกว่า คลองลัดบางกรวย ที่เชื่อมต่อกับคลองอ้อมนนท์และคลองบางกรวยซึ่งขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2081  ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา บริเวณที่ตั้งของวัดชลอเป็นโค้งน้ำที่ไหลเชี่ยว และเป็นทางแยก จึงมักมีอุบัติเหตุเรือล่มและมีคนจมน้ำเสียชีวิตอยู่เสมอ จนมีตำนานเล่าว่า เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคผ่านคลองลัดบางกรวย ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าบริเวณนี้น่าจะสร้างวัด เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน รวมถึงเป็นจุดสังเกตให้คนเรือได้ลดความเร็วและใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นเมื่อมาถึงบริเวณนี้ ส่วนชื่อวัดชลอนั้น สันนิษฐานว่าได้รับพระราชทานนามจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไม่ก็ว่ามาจากคำว่า ช้า และ รอ คือ หยุดรอดูว่าจะมีเรือมาจากทิศไหนบ้าง และกลายเป็นชลอในที่สุด ภายในวัดชลอ มีสถานที่และสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจ เช่น พระอุโบสถหลังเก่า พระอุโบสถเรือสุพรรณหงส์ และ ศาลเจ้าพ่อไชยสร-เจ้าแม่ภาณี เป็นต้น พระอุโบสถหลังเก่า พระอุโบสถหลังเก่า สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2300 เป็นอาคารขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูนอยู่ในผังสี่เหลี่ยม มีลักษณะทรงไทยรูปเรือสำเภาโบราณฐานอาคารแอ่นโค้งแบบที่เรียกว่า “ตกท้องสำเภา” มีอาคารโถงเป็นมุขด้านหน้าอุโบสถ ชั้นหลังคาประกอบด้วยช่อฟ้า…

  • วัดกลาง (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

    วัดกลาง (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

              วัดกลาง หรือ วัดกลางบุรีรัมย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เดิมเป็นวัดร้าง มีประวัติเล่าว่าสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช – รัชกาลที่ 1) นำทัพไปปราบกบฏ และได้หยุดพักทัพที่บริเวณสระน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ในวัดกลางบุรีรัมย์ และโปรดเกล้าให้ยกวัดร้างเป็นวัดมีพระสงฆ์ให้ชื่อว่า “วัดแปะใหญ่” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดกลาง” และได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของบุรีรัมย์เมื่อ พ.ศ. 2533           วัดกลางสถานที่สำคัญ เช่น พระอุโบสถ สระสิงโต และศาลาหอพระไตรปิฎก เป็นต้น พระอุโบสถสร้างและบูรณะอยู่หลายครั้ง ภายในประดิษฐานหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีขนาดหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 3 เมตร สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปหินศิลาแลง…

  • วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม

    วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม

    วัดญาณเวศกวัน เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ถัดจาก ด้านหลังพุทธมณฑลเพียง 100 เมตร เริ่มจากการเป็นสำนักสงฆ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2532 และจัดตั้งเป็นวัดในปี พ.ศ. 2537 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกจนถึงปัจจุบัน ด้วยคุณูปการด้านการเผยแพร่หลักธรรมพระพุทธศาสนา ทั้งการบรรยายและผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย ท่านจึงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปที่ 2 ที่อยู่นอกพระนคร (รูปแรก คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) วัดศาลาปูน พระนครศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 5) ชื่อของวัดญาณเวศกวัน มีความหมายว่า ป่าที่มีเรือนแห่งความรู้ หรือ ป่าของผู้เข้าสู่ญาณพื้นที่ส่วนใหญ่ภายในเนื้อที่ 28 ไร่ 1 งาน 85…