Category: Article

  • ปันธรรม: 26 ตุลาคม 2567: ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ วันคืนล่วงไปเท่าใด ชีวิตก็ล่วงไปเท่านั้น

    ปันธรรม: 26 ตุลาคม 2567: ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ วันคืนล่วงไปเท่าใด ชีวิตก็ล่วงไปเท่านั้น

    อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วายํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ ควรทำวันและคืนไม่ให้ไร้ประโยชน์ เพราะวันคืนล่วงไปเท่าใด ชีวิตของสัตว์ก็ล่วงไปเท่านั้น เกร็ดเรื่องราว ธรรมบทนี้เป็นสุภาษิตส่วนหนึ่งของท่านพระสิริมัณฑเถระ ว่าด้วยการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ดังนี้: ชราภาพ โรคภัย และความตาย เป็นเหมือนกองไฟที่สัตว์โลกไม่กำลังที่จะต่อต้านหรือหนีไปได้เราจึงควรทำวันและคืนไม่ให้ไร้ประโยชน์เพราะเมื่อวันคืนล่วงไปเท่าใด ชีวิตของสัตว์ก็ล่วงไปเท่านั้น ความตายสามารถรุกร้นเราเข้ามาได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง หรือนอนเพราะฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทเวลา จาก สิริมัณฑเถรคาถา สุภาษิตสอนให้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ พระไตรปิฎก เล่มที่ 26 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=359   #ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ #วันคืนล่วงไปเท่าใด #ชีวิตก็ล่วงไปเท่านั้น #สิริมัณฑเถรคาถา #พระไตรปิฎก #ชราภาพ #โรคภัย #ความตาย #กองไฟ #ไม่ประมาท #ปันธรรม #บ้านไอศูรย์  

  • ปันธรรม: 18 ตุลาคม 2567: ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย

    ปันธรรม: 18 ตุลาคม 2567: ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย

    อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโต วิปจฺจติ ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย เกร็ดเรื่องราว เอกปทชาดกความเพียรทำให้เกิดประโยชน์หลายอย่าง        เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร มีกุฎุมพีชาวสาวัตถี ผู้เป็นบิดาพาบุตรมาเข้าเฝ้า เนื่องจากวันหนึ่งบุตรที่นั่งอยู่บนตักได้ถามปัญหาถึงประตูไปสู่ประโยชน์ เขาคิดว่า ปัญหานี้เป็นพุทธวิสัย คนอื่นน่าจะไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ จึงมาขอคำตอบจากพระศาสดา พระองค์จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า ดั้งนี้ ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเศรษฐี มีบุตรซึ่งยังเป็นกุมารน้อย ถามขึ้นว่า มีเหตุอย่างเดียวที่ทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่างอยู่หรือไม่ ลูกจะพึงทำประโยชน์ให้สำเร็จด้วยเหตุใด ขอคุณพ่อจงบอกเหตุนั้น ซึ่งรวมประโยชน์ได้หลายอย่างแก่ผมเถิด พระโพธิสัตว์ผู้เป็นบิดา ตอบว่า ลูกเอ๋ย เหตุนั้นคือ ความขยันหมั่นเพียร ทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง เพราะความขยันหมั่นเพียร ประกอบด้วย ศีล และ ขันติ ซึ่งอาจทำมิตรทั้งหลายให้ถึงความสุข หรืออาจทำศัตรูทั้งหลายให้ถึงความทุกข์ได้ พระโพธิสัตว์กล่าวแก้ปัญหาแก่บุตรฉะนี้ บุตรนั้นได้ยังประโยชน์ของตนให้สำเร็จตามนัยที่บิดาบอก ดำรงชีพไปตามยถากรรมแล้ว ครั้นพระพุทธเจ้าเล่าจบสัจจธรรม กุฎุมพีชาวสาวัตถีผู้เป็นบิดา และบุตร…

  • ปันธรรม: 4 ตุลาคม 2567: เกิดมาแล้วในชาตินี้ ควรสร้างความดีงามให้มาก

    ปันธรรม: 4 ตุลาคม 2567: เกิดมาแล้วในชาตินี้ ควรสร้างความดีงามให้มาก

    เกิดมาแล้วในชาตินี้ ควรสร้างความดีงามให้มาก ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา กยิรา มาลาคุเฬ พหู เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ ช่างดอกไม้ ร้อยพวงมาลัยได้มากมาย จากกองดอกไม้กองหนึ่ง ฉันใด คนเราเกิดมาแล้วในชาตินี้ ควรสร้างความดีงามให้มาก ฉันนั้น เกร็ดเรื่องราว พุทธพจน์นี้ ทรงตรัสถึงการสร้างกุศลของนางวิสาขา อุบาสิกาผู้มีทั้งศรัทธาและทรัพย์มาก ว่า เปรียบเช่น ช่างดอกไม้ที่ฉลาด เฉียบแหลม และ ขยัน เมื่อมีดอกไม้มีมาก ย่อมร้อยพวงมาลัยได้เป็นจำนวนมาก ช่างดอกไม้ที่ไม่ฉลาด ไม่ว่าจะมีดอกไม้มากหรือน้อยก็ตาม ก็ไม่สามารถร้อยพวงมาลัยจำนวนมากได้ช่างดอกไม้ที่ฉลาด หากมีดอกไม้น้อย ก็ไม่สามารถร้อยพวงมาลัยจำนวนมากได้ ช่างดอกไม้ที่ฉลาด ขยัน เฉียบแหลม เมื่อดอกไม้มีมาก ย่อมร้อยพวงมาลัยจำนวนมากได้ ฉันใด บุคคลเมื่อมีทั้งศรัทธา และ ทรัพย์น้อย ก็ไม่อาจทำกุศลให้มากได้ เมื่อมีศรัทธาน้อย แม้มีทรัพย์มาก ก็ไม่อาจทำกุศลให้มากได้…

  • ปันธรรม: 28 กันยายน 2567: ความรู้จักประมาณ ทำให้สำเร็จประโยชน์ทุกเมื่อ

    ปันธรรม: 28 กันยายน 2567: ความรู้จักประมาณ ทำให้สำเร็จประโยชน์ทุกเมื่อ

    ความรู้จักประมาณ ทำให้สำเร็จประโยชน์ทุกเมื่อ มตฺตญฺญุตา สทา สาธุความรู้จักประมาณ ทำให้สำเร็จประโยชน์ทุกเมื่อ เกร็ดเรื่องราวอรรถกถา คิชฌชาดกว่าด้วย ผู้ไม่ทำตามคำสอนย่อมพินาศ            พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายากซึ่งเป็นลูกผู้ดีคนหนึ่ง แม้บวชในศาสนาที่จะนำออกจากทุกข์ เมื่ออาจารย์อุปัชฌาย์และเพื่อนพรหมจารีผู้หวังดี กล่าวสอนว่า เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ มองไปข้างหน้าอย่างนี้ เหลียวซ้ายแลขวาอย่างนี้ คู้เข้าอย่างนี้ เหยียดออกอย่างนี้ นุ่งอย่างนี้ ห่มอย่างนี้ ถือบาตรอย่างนี้ พึงรับภัตแต่พอยังอัตภาพให้เป็นไป พิจารณาก่อนแล้วจึงฉัน ฯภิกษุผู้ว่ายากไม่อดทนต่อโอวาท ไม่ยินดีรับคำสอน กล่าวตอบว่า กระผมไม่ได้ว่าพวกท่าน เหตุไรพวกท่านจึงว่ากระผม กระผมเท่านั้นจักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์สำหรับผม            พระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เธอเป็นผู้ว่ายากจริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่าจริง จึงตรัสว่า เธอบวชในศาสนาที่จะนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้…

  • ปันธรรม: 21 กันยายน 2567: คนจะประเสริฐก็เพราะการกระทำความประพฤติ

    ปันธรรม: 21 กันยายน 2567: คนจะประเสริฐก็เพราะการกระทำความประพฤติ

    กมฺมุนา  โหติ  พฺราหฺมโณ คนจะประเสริฐก็เพราะการกระทำความประพฤติ เกร็ดเรื่องราว: นามสิทธิชาดก ว่าด้วย ชื่อไม่เป็นของสำคัญ กาลครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่ในเมืองตักสิลา มีศิษย์คนหนึ่งชื่อว่า ปาปกะ (นายบาป) เขาคิดว่าชื่อเขาไม่เป็นมงคล จึงไปหาอาจารย์เพื่อให้ตั้งชื่อใหม่ อาจารย์บอกให้เขาไปหาชื่อที่ตัวเองชอบแล้วจะเปลี่ยนชื่อใหม่ให้ เขาออกเดินทางเพื่อไปหาชื่อใหม่ เมื่อถึงเมืองแห่งหนึ่งซึ่งมีงานศพพอดี จึงถามถึงชื่อคนตาย เหล่าญาติบอกเขาว่าคนตายชื่อว่า ชีวกะ (บุญรอด) เขาถามว่า “ขนาดชื่อบุญรอดยังตายอีกหรือนี่” ญาติจึงบอกว่า “คนเราจะชีวกะ (บุญรอด) หรือ อชีวก (ไม่รอด) ก็ตายทั้งนั้น ชื่อมีไว้ใช้สำหรับเรียกขานกันเท่านั้น เจ้านี่โง่กระมัง” เขาได้ฟังดังนั้นจึงมีความรู้สึกเฉยๆ เรื่องชื่อ แล้วเดินทางกลับเข้าเมืองของตน เมื่อถึงในเมือง เจอนายทุนกำลังจับหญิงผู้หนึ่งมาเฆี่ยนตี จึงถามถึงสาเหตุก็รู้ว่านางไม่ยอมจ่ายดอกเบี้ย ทำให้ต้องถูกลงโทษอย่างนี้ เขาถามว่านางชื่ออะไร พอรู้ว่านางชื่อ ธนปาลี (คนมีทรัพย์) จึงถามว่า “แม้จะชื่อ ธนปาลี (คนมีทรัพย์) ยังไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยอีกหรือ” พวกนายทุนตอบว่า…

  • ปันธรรม: 13 กันยายน 2567: ชีวิตประเสริฐ เกิดจากการศึกษา

    ปันธรรม: 13 กันยายน 2567: ชีวิตประเสริฐ เกิดจากการศึกษา

    ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ(ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ) ในหมู่มนุษย์นั้น ผู้ที่ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐ ชีวิตที่มีการศึกษา คือ เรียนรู้ ฝึกหัด พัฒนาอยู่เรื่อย จะเป็นชีวิตที่ประเสริฐ เรียกว่า “ชีวิตประเสริฐ เกิดจากการศึกษา” เกร็ดเรื่องราว: ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังนครหลวงแห่งแคว้นวังสะ พระนางมาคันทิยาให้สินจ้างแก่คนในเมืองให้ไปรุมด่าพระสมณโคดม พระอานนท์ที่ตามเสด็จด้วยกราบทูลให้ไปที่เมืองอื่นก็ไม่เสด็จไป ทรงให้เหตุผลว่าแม้ไปเมืองอื่นก็ย่อมถูกด่าอยู่ดี จากนั้นจึงแสดงธรรมให้กับทั้งพระอานนท์และผู้ที่มารุมด่า โดยมีเนื้อหาสรุปความได้ว่า การอดกลั้นต่อคำล่วงเกิน เปรียบเหมือนกับช้างศึกที่ทนต่อลูกศรในสงคราม ช้างหรือพาหนะที่ใช้ในการศึก ล้วนเป็นสัตว์ที่ฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐมนุษย์ที่อดกลั้นต่อคำล่วงเกิน มนุษย์ที่ที่ฝึกตนแล้ว (ได้รับการศึกษา) ย่อมเป็นประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น เมื่อเทศนาจบ คนที่รับสินจ้างมาด่าทั้งหลายก็บรรลุโสดาปัตติผล จากหนังสือ เล่าเรียน – ทำงานกันไป ชีวิตได้อะไร ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)(อ่านเพิ่มเติม: https://www.papayutto.org/th/book_detail/389) พระไตรปิฎก เล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท…

  • ปันธรรม: 10 มิถุนายน 2567: ถามถึงชาติกำเนิดไปก็เท่านั้น ถามความประพฤติ (ศีล) สำคัญกว่า

    ปันธรรม: 10 มิถุนายน 2567: ถามถึงชาติกำเนิดไปก็เท่านั้น ถามความประพฤติ (ศีล) สำคัญกว่า

    มา ชาตึ ปุจฺฉ จรณญฺจ ปุจฺฉ ถามถึงชาติกำเนิดไปก็เท่านั้น ถามความประพฤติ (ศีล) สำคัญกว่า จงดูแต่ไฟเถิด แม้จะเกิดจากไม้ต่างชนิด แต่ก็มีเปลวแสงและสีเหมือนกัน บุคคลผู้ฉลาด มีความเพียร รู้จักกีดกันบาปด้วยความละอาย แม้จะเกิดในตระกูลต่ำ ก็เป็นอาชาไนยได้

  • ปันธรรม: 3 มิถุนายน 2567: สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    ปันธรรม: 3 มิถุนายน 2567: สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ท่านพุทธทาสถอดความพระพุทธภาษิตนี้ ตามวาทะของท่านเองว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ที่น่าเป็น” พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ในหลายที่หลายแห่งว่า พระองค์ทรงสอนอยู่ 2 เรื่องเท่านั้น คือ เรื่อง ทุกข์ กับเรื่อง การดับทุกข์ ฉะนั้น ถ้าผู้ใดรู้ถึงคำสอนของพระองค์ ทั้ง 2 เรื่องนี้ คือ ทุกข์ และ การดับทุกข์ ก็ชื่อว่า ได้รับรู้ถึงคำสอนของพระองค์ ทั้งหมด สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น พระพุทธภาษิตบทนี้ว่าด้วย ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นเหตุให้ถึง ความดับทุกข์ กล่าวคือ ความยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวงว่า “เป็นตัวกู”, “เป็นของกู” เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ ในทางตรงกันข้าม ขณะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น . . . นั้นเอง…

  • วัดนันตาราม ต. หย่วน อ.อเชียงคำ จ. พะเยา

    วัดนันตาราม ต. หย่วน อ.อเชียงคำ จ. พะเยา

             วัดนันตาราม ตั้งอยู่ที่ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน งดงามไปด้วยงานพุทธศิลป์แบบไทใหญ่-พม่า โดดเด่นไปด้วยวิหารไม้สักทั้งหลังที่มีผลงานการฉลุไม้ตกแต่งลวดลายอย่างงดงาม วัดนันตาราม ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เล่ากันว่าแต่เดิมที่ตั้งวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างมาก่อน โดยระยะแรกสร้างเป็นเพียงวิหารไม้มุงด้วยหญ้าคา คนจึงเรียกว่าจองคา โดยคำว่าจองเป็นภาษาไทใหญ่หมายถึง วัด ส่วนคา หมายถึงมุงด้วยหญ้าคา บ้างก็เรียกจองม่าน หรือ วัดพม่า จากนั้นใน พ.ศ.2467 พ่อเฒ่าตะก่าจองนันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชาวปะโอ (ตองสู่) ผู้รับสัมปทานทำไม้ให้กับบริษัทค้าไม้ต่างชาติ เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบูรณะปรับปรุงเสนาสนะวัดจองคาที่ทรุดโทรมให้มีความมั่นคงแข็งแรงงดงามสมเป็นพุทธสถาน พ่อตะก่าจองนันตา (อู๋) รับเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังปัจจุบัน โดยว่าจ้างช่างชาวพม่าจากจังหวัดลำปางมาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้สักทั้งหลัง รูปทรงสถาปัตยกรรมแบบพม่า หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้นลดหลั่นกันสวยงาม มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตร ใช้เวลาร่วม 10 ปีจึงสำเร็จสมบูรณ์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและเป็นอนุสรณ์ผู้สร้าง จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจากจองม่าน เป็น วัดนันตาราม เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน วิหารไม้สักแห่งวัดนันตาราม ภายในวิหารยกเป็น 3…

  • ปันธรรม: 27 พฤษภาคม 2567: ตระเตรียมตนให้ดีพร้อม เพื่อพบพานผลอันเป็นที่รัก

    ปันธรรม: 27 พฤษภาคม 2567: ตระเตรียมตนให้ดีพร้อม เพื่อพบพานผลอันเป็นที่รัก

    ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา จากพุทธพจน์นี้ บอกให้เรารู้จักเตรียมพร้อมก่อนลงมือทำสิ่งใดสักสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ชีวิต ที่ควรพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ รวมถึง คุณธรรม เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ ซึ่งต้องเตรียมดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ดูแลเอาใจใส่ จึงจะออกดอกออกผลได้ ทั้งนี้ ในขณะที่รอผลนั้น ขอเพียงมีความมุ่งมั่นตั้งใจ อดทน รอคอยผลลัพธ์ สิ่งสำคัญ ความไม่ประมาท พร้อมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ