Author: baan.aisoon

  • ปันธรรม: 21 กันยายน 2567: คนจะประเสริฐก็เพราะการกระทำความประพฤติ

    ปันธรรม: 21 กันยายน 2567: คนจะประเสริฐก็เพราะการกระทำความประพฤติ

    กมฺมุนา  โหติ  พฺราหฺมโณ คนจะประเสริฐก็เพราะการกระทำความประพฤติ เกร็ดเรื่องราว: นามสิทธิชาดก ว่าด้วย ชื่อไม่เป็นของสำคัญ กาลครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่ในเมืองตักสิลา มีศิษย์คนหนึ่งชื่อว่า ปาปกะ (นายบาป) เขาคิดว่าชื่อเขาไม่เป็นมงคล จึงไปหาอาจารย์เพื่อให้ตั้งชื่อใหม่ อาจารย์บอกให้เขาไปหาชื่อที่ตัวเองชอบแล้วจะเปลี่ยนชื่อใหม่ให้ เขาออกเดินทางเพื่อไปหาชื่อใหม่ เมื่อถึงเมืองแห่งหนึ่งซึ่งมีงานศพพอดี จึงถามถึงชื่อคนตาย เหล่าญาติบอกเขาว่าคนตายชื่อว่า ชีวกะ (บุญรอด) เขาถามว่า “ขนาดชื่อบุญรอดยังตายอีกหรือนี่” ญาติจึงบอกว่า “คนเราจะชีวกะ (บุญรอด) หรือ อชีวก (ไม่รอด) ก็ตายทั้งนั้น ชื่อมีไว้ใช้สำหรับเรียกขานกันเท่านั้น เจ้านี่โง่กระมัง” เขาได้ฟังดังนั้นจึงมีความรู้สึกเฉยๆ เรื่องชื่อ แล้วเดินทางกลับเข้าเมืองของตน เมื่อถึงในเมือง เจอนายทุนกำลังจับหญิงผู้หนึ่งมาเฆี่ยนตี จึงถามถึงสาเหตุก็รู้ว่านางไม่ยอมจ่ายดอกเบี้ย ทำให้ต้องถูกลงโทษอย่างนี้ เขาถามว่านางชื่ออะไร พอรู้ว่านางชื่อ ธนปาลี (คนมีทรัพย์) จึงถามว่า “แม้จะชื่อ ธนปาลี (คนมีทรัพย์) ยังไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยอีกหรือ” พวกนายทุนตอบว่า…

  • ปันธรรม: 13 กันยายน 2567: ชีวิตประเสริฐ เกิดจากการศึกษา

    ปันธรรม: 13 กันยายน 2567: ชีวิตประเสริฐ เกิดจากการศึกษา

    ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ(ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ) ในหมู่มนุษย์นั้น ผู้ที่ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐ ชีวิตที่มีการศึกษา คือ เรียนรู้ ฝึกหัด พัฒนาอยู่เรื่อย จะเป็นชีวิตที่ประเสริฐ เรียกว่า “ชีวิตประเสริฐ เกิดจากการศึกษา” เกร็ดเรื่องราว: ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังนครหลวงแห่งแคว้นวังสะ พระนางมาคันทิยาให้สินจ้างแก่คนในเมืองให้ไปรุมด่าพระสมณโคดม พระอานนท์ที่ตามเสด็จด้วยกราบทูลให้ไปที่เมืองอื่นก็ไม่เสด็จไป ทรงให้เหตุผลว่าแม้ไปเมืองอื่นก็ย่อมถูกด่าอยู่ดี จากนั้นจึงแสดงธรรมให้กับทั้งพระอานนท์และผู้ที่มารุมด่า โดยมีเนื้อหาสรุปความได้ว่า การอดกลั้นต่อคำล่วงเกิน เปรียบเหมือนกับช้างศึกที่ทนต่อลูกศรในสงคราม ช้างหรือพาหนะที่ใช้ในการศึก ล้วนเป็นสัตว์ที่ฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐมนุษย์ที่อดกลั้นต่อคำล่วงเกิน มนุษย์ที่ที่ฝึกตนแล้ว (ได้รับการศึกษา) ย่อมเป็นประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น เมื่อเทศนาจบ คนที่รับสินจ้างมาด่าทั้งหลายก็บรรลุโสดาปัตติผล จากหนังสือ เล่าเรียน – ทำงานกันไป ชีวิตได้อะไร ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)(อ่านเพิ่มเติม: https://www.papayutto.org/th/book_detail/389) พระไตรปิฎก เล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท…

  • ปันธรรม: 10 มิถุนายน 2567: ถามถึงชาติกำเนิดไปก็เท่านั้น ถามความประพฤติ (ศีล) สำคัญกว่า

    ปันธรรม: 10 มิถุนายน 2567: ถามถึงชาติกำเนิดไปก็เท่านั้น ถามความประพฤติ (ศีล) สำคัญกว่า

    มา ชาตึ ปุจฺฉ จรณญฺจ ปุจฺฉ ถามถึงชาติกำเนิดไปก็เท่านั้น ถามความประพฤติ (ศีล) สำคัญกว่า จงดูแต่ไฟเถิด แม้จะเกิดจากไม้ต่างชนิด แต่ก็มีเปลวแสงและสีเหมือนกัน บุคคลผู้ฉลาด มีความเพียร รู้จักกีดกันบาปด้วยความละอาย แม้จะเกิดในตระกูลต่ำ ก็เป็นอาชาไนยได้

  • ปันธรรม: 3 มิถุนายน 2567: สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    ปันธรรม: 3 มิถุนายน 2567: สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ท่านพุทธทาสถอดความพระพุทธภาษิตนี้ ตามวาทะของท่านเองว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ที่น่าเป็น” พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ในหลายที่หลายแห่งว่า พระองค์ทรงสอนอยู่ 2 เรื่องเท่านั้น คือ เรื่อง ทุกข์ กับเรื่อง การดับทุกข์ ฉะนั้น ถ้าผู้ใดรู้ถึงคำสอนของพระองค์ ทั้ง 2 เรื่องนี้ คือ ทุกข์ และ การดับทุกข์ ก็ชื่อว่า ได้รับรู้ถึงคำสอนของพระองค์ ทั้งหมด สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น พระพุทธภาษิตบทนี้ว่าด้วย ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นเหตุให้ถึง ความดับทุกข์ กล่าวคือ ความยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวงว่า “เป็นตัวกู”, “เป็นของกู” เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ ในทางตรงกันข้าม ขณะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น . . . นั้นเอง…

  • วัดนันตาราม ต. หย่วน อ.อเชียงคำ จ. พะเยา

    วัดนันตาราม ต. หย่วน อ.อเชียงคำ จ. พะเยา

             วัดนันตาราม ตั้งอยู่ที่ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน งดงามไปด้วยงานพุทธศิลป์แบบไทใหญ่-พม่า โดดเด่นไปด้วยวิหารไม้สักทั้งหลังที่มีผลงานการฉลุไม้ตกแต่งลวดลายอย่างงดงาม วัดนันตาราม ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เล่ากันว่าแต่เดิมที่ตั้งวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างมาก่อน โดยระยะแรกสร้างเป็นเพียงวิหารไม้มุงด้วยหญ้าคา คนจึงเรียกว่าจองคา โดยคำว่าจองเป็นภาษาไทใหญ่หมายถึง วัด ส่วนคา หมายถึงมุงด้วยหญ้าคา บ้างก็เรียกจองม่าน หรือ วัดพม่า จากนั้นใน พ.ศ.2467 พ่อเฒ่าตะก่าจองนันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชาวปะโอ (ตองสู่) ผู้รับสัมปทานทำไม้ให้กับบริษัทค้าไม้ต่างชาติ เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบูรณะปรับปรุงเสนาสนะวัดจองคาที่ทรุดโทรมให้มีความมั่นคงแข็งแรงงดงามสมเป็นพุทธสถาน พ่อตะก่าจองนันตา (อู๋) รับเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังปัจจุบัน โดยว่าจ้างช่างชาวพม่าจากจังหวัดลำปางมาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้สักทั้งหลัง รูปทรงสถาปัตยกรรมแบบพม่า หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้นลดหลั่นกันสวยงาม มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตร ใช้เวลาร่วม 10 ปีจึงสำเร็จสมบูรณ์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและเป็นอนุสรณ์ผู้สร้าง จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจากจองม่าน เป็น วัดนันตาราม เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน วิหารไม้สักแห่งวัดนันตาราม ภายในวิหารยกเป็น 3…

  • ปันธรรม: 27 พฤษภาคม 2567: ตระเตรียมตนให้ดีพร้อม เพื่อพบพานผลอันเป็นที่รัก

    ปันธรรม: 27 พฤษภาคม 2567: ตระเตรียมตนให้ดีพร้อม เพื่อพบพานผลอันเป็นที่รัก

    ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา จากพุทธพจน์นี้ บอกให้เรารู้จักเตรียมพร้อมก่อนลงมือทำสิ่งใดสักสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ชีวิต ที่ควรพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ รวมถึง คุณธรรม เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ ซึ่งต้องเตรียมดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ดูแลเอาใจใส่ จึงจะออกดอกออกผลได้ ทั้งนี้ ในขณะที่รอผลนั้น ขอเพียงมีความมุ่งมั่นตั้งใจ อดทน รอคอยผลลัพธ์ สิ่งสำคัญ ความไม่ประมาท พร้อมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ

  • วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไทย ประเทศไทย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดโพธิ์ เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่รวบรวมความรู้และภูมิปัญญาไทย สะท้อนผ่านศิลปกรรมโบราณ จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม และคัมภีร์โบราณ ที่ล้วนทรงคุณค่า ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้มาสัมผัสประสบการณ์อันล้ำค่า สถานที่น่าสนใจภายในวัดโพธิ์ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ปางไสยาสน์ขนาดยาว 46 เมตร สูง 15 เมตร ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร เต็มไปด้วยลวดลายอันวิจิตรบรรจง พระระเบียงคด เดินชมพระระเบียงคด ชมประติมากรรมพระพุทธรูปปางต่างๆ กว่า 150 องค์ แต่ละองค์ล้วนมีความงดงามและเอกลักษณ์เฉพาะตัว สะท้อนให้เห็นถึงฝีมือช่างไทยโบราณ จารึกวัดโพธิ์ เรียนรู้ภูมิปัญญาไทยโบราณผ่านจารึกวัดโพธิ์ จารึกบนแผ่นหินอ่อนที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ การแพทย์ โหราศาสตร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล…

  • 3 มีนาคม 2567 วันนี้วันพระ – วันการได้ยินโลก (World Hearing Day)

    3 มีนาคม 2567 วันนี้วันพระ – วันการได้ยินโลก (World Hearing Day)

    วันนี้วันพระ แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2567 วันการได้ยินโลก (World Hearing Day) วันที่ 3 มีนาคมของทุกปี องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้กำหนดให้เป็น วันการได้ยินโลก หรือ World Hearing Day เพื่อให้ผู้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการได้ยินและป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งปัญหาการสูญเสียการได้ยินนั้นถือว่าเป็นปัญหาสำคัญในด้านสาธารณสุขที่ส่งผลต่อผู้คนในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัย ซึ่งประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยทำให้อัตราผู้ที่มีปัญหาการได้ยินสูงมากขึ้น และส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน เช่น การได้ยิน การสื่อสาร การแยกตัวออกจากสังคม ซึมเศร้า โรคหลงลืม และสมองเสื่อม ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้จัดทำแอพพลิเคชั่น ชื่อ “hearWHO” เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจระดับการได้ยินด้วยตนเอง และสำหรับประเทศไทยมีแอปพลิเคชันที่เป็นภาษาไทยเช่นกัน ชื่อว่า “Eartone หรือ ตรวจการได้ยิน”…

  • วันนี้วันพระ – วันอนุรักษ์ลิ่น/นิ่มโลก (World Pangolin Day) – (17 กุมภาพันธ์ 2567 )

    วันนี้วันพระ – วันอนุรักษ์ลิ่น/นิ่มโลก (World Pangolin Day) – (17 กุมภาพันธ์ 2567 )

    วันนี้วันพระ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 วันอนุรักษ์ลิ่น/นิ่มโลก (World Pangolin Day)           วันอนุรักษ์ลิ่น/นิ่มโลก (World Pangolin Day) ก่อตั้งขึ้นโดย Rhishja Cota [1] ในปี ค.ศ.2012 โดยกำหนดให้ตรงกับวันเสาร์ที่สามของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้คนรู้จัก ตระหนักถึงความความสำคัญ และความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของลิ่นที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ลิ่นเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวที่มีเกล็ด ลักษณะโดยทั่วไปของลิ่น คือ เป็นสัตว์ไม่มีฟัน กินมดและปลวกเป็นอาหาร มีลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นชิ้น ๆ ทำหน้าที่เหมือนชุดเกราะ เมื่อถูกคุกคามลิ่นจะขดตัวเป็นก้อน มีเล็บแหลมยาวใช้ขุดพื้นหรือขุดโพรงเป็นที่อยู่อาศัยและปีนต้นไม้…

  • 4 มกราคม 2567 วันนี้วันพระ – วันอักษรเบรลล์ (World Braille Day)

    4 มกราคม 2567 วันนี้วันพระ – วันอักษรเบรลล์ (World Braille Day)

    วันนี้วันพระแรม 8 ค่ำ เดือน อ้าย ปีเถาะ4 มกราคม 2567 วันอักษรเบรลล์ (World Braille Day) วันที่ 4 มกราคม เป็นวันคล้ายวันเกิดของ หลุยส์ เบรลล์ ผู้ประดิษฐ์อักษรเบรลล์ ซึ่งตาบอดจากอุบัติเหตุในวัยเด็ก เขาตั้งใจที่จะเอาชนะอุปสรรคนี้ และได้รับแรงบันดาลใจจากระบบการเขียนตอนกลางคืนของ Charles Barbier เบรลล์ได้คิดค้นระบบการอ่านเขียนตัวอักษรสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นที่เรารู้จักกันในปัจจุบันว่าอักษรเบรลล์ ด้วยอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น.สำหรับอักษรเบรลล์ภาษาไทย มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2482 ด้วยความร่วมมือกันระหว่างหญิงอเมริกันตาบอด ชื่อ มิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์ (Miss Genevive Caufield) กับคณะคนไทย โดยประยุกต์มาจากอักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษ ซึ่งการมีอักษรเรลล์ภาษาไทย เป็นการเปิดโลกการเรียนรู้หนังสือของคนตาบอดไทย #วันนี้วันพระ #บ้านไอศูรย์ #WorldBrailleDay #วันอักษรเบรลล์ #อักษรเบรลล์