ปันธรรม: 3 มิถุนายน 2567: สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

ท่านพุทธทาสถอดความพระพุทธภาษิตนี้ ตามวาทะของท่านเองว่า

“ไม่มีอะไรที่น่าเอา ที่น่าเป็น”

พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ในหลายที่หลายแห่งว่า
พระองค์ทรงสอนอยู่ 2 เรื่องเท่านั้น
คือ เรื่อง ทุกข์ กับเรื่อง การดับทุกข์
ฉะนั้น ถ้าผู้ใดรู้ถึงคำสอนของพระองค์
ทั้ง 2 เรื่องนี้ คือ ทุกข์ และ การดับทุกข์ ก็ชื่อว่า
ได้รับรู้ถึงคำสอนของพระองค์ ทั้งหมด

สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย
สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

พระพุทธภาษิตบทนี้ว่าด้วย ความไม่ยึดมั่นถือมั่น
ซึ่งเป็นเหตุให้ถึง ความดับทุกข์ กล่าวคือ

ความยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวงว่า
“เป็นตัวกู”, “เป็นของกู”

เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์

ในทางตรงกันข้าม

ขณะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
.
.
.
นั้นเอง คือ ว่างจากความทุกข์
.
การปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือ
ชื่อว่าได้ปฏิบัติทั้งหมด
ไม่มีอะไรที่จะต้องปฏิบัติอีกแล้ว

ที่ว่า

“ถ้าได้ ปฏิบัติ ตามพระพุทธภาษิตบทนี้แล้ว ชื่อว่าได้ ปฏิบัติ ธรรมทั้งหมด” นั้น

ท่านพุทธทาส ได้ตั้งข้องสังเกตว่า

การปฏิบัติธรรมแต่ละขั้น ตั้งแต่

รับไตรสรณคมน์
  ให้ทาน
    รักษาศีล
      ฝึกสมาธิ (เจริญสมถกรรมฐาน)
        อบรมปัญญา (เจริญวิปัสสนากรรมฐาน) จนถึง
          มรรค
            ผล
               นิพพาน

ตามลำดับนั้น
ถ้า ปฏิบัติ ถูกต้องถึงที่สุดของแต่ละขั้น
ก็มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ

เพื่อให้จิตว่างจากความยึดมั่นถือมั่น นั้นเอง

มิใช่เพื่ออะไรอื่น